วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

โพสเกี่ยวกับความรู้วิชาต่างๆ

แค่ชื่อหัวข้อก็คงรู้แล้วสินะครับ เพราะฉะนั้นควรโพสแต่ความรู้แต่ละวิชาเพื่อจะได้นำมาเเชร์กันด้วยนะครับ และขอให้พูดอย่างสุภาพด้วย

10 ความคิดเห็น:

  1. สรุปวิชาภาษาอังกฤษ
    Future Simple Tense
    1. คำวิเศษณ์บอกเวลา
    - soon
    - tomorrow
    - next...
    - tonight
    - in the future
    - in a few minutes
    2.ใช้คู่กับ Present Simple Tense เพื่อแสดงอนาคตคำเชื่อมได้แก่
    - if(ถ้า) เช่น I will go if you ask.
    - until(จนกระทั่ง) เช่น
    She will stay here until her father arrive from his office.

    ตอบลบ
  2. การใช้ to be going to
    1. ใช้เมื่อตัดสินใจและตั้งใจทำในอนาคต
    - She is going to sell her car next month.
    - We are going to buy a house in Bangkok soon.
    - Pam says she is going to be a doctor
    when she grows up.
    2. การคาดคะเนที่มีความเป็นไปได้สูง
    - Look out! These cars are going to crash!
    เห็นรถแล่นมาเร็ว ตัดหน้าเบรกไม่ทันต้องชนแน่นอน
    - The wind has changed and the clouds
    are black. It's going to rain soon
    เห็นท้องฟ้าดำมืด คาดว่าฝนจะตกแน่นอน

    ตอบลบ
  3. วิชาภาษาไทย (ท31101)
    1.ราชาธิราช ตอน สมิงพระราม
    2.การพ์ เห่ชงเครื่องคาวหวาน
    3.นิทานพื้นบ้าน
    4.กลุ่มคำ
    5. ประโยคความเดียว ความรวม ความซ้อน

    :)

    ตอบลบ
  4. เมื่อพระเจ้าราชาธิราชขึ้นครองกรุงหงสาวดี ได้ทำสงครามกับพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวา แห่งกรุงรัตนบุระอังวะ(หรือกรุงอังวะนั่นเอง) จากสาเหตุเมืองพะสิมแข็งเมือง ไม่ยอมขึ้นต่อพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าราชาธิราชจึงยกทัพไปปราบ เจ้าเมืองพะสิมหนีไปพึ่งเจ้าเมืองทรางทวย(อ่านว่า ซาง-ทวย) เจ้าเมืองทรางทวยจับเจ้าเมืองพะสิมส่งไปถวายพระเจ้าราชาธิราช พระเจ้าราชาธิราชทรงให้ประหารเจ้าเมืองพะสิม พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวาจึงหาหตุตีกรุงหงสาวดีเพราะต้องการแผ่พระราชอำนาจ แต่กองทพของพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวา ถูกกองทัพพระเจ้าราชาธิราชตีแตกกลับไป เป็นเหตุให้พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉะวาทรงอัปยศอดสูจนทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่าพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง หรือพระเจ้ามณเฑียรทอง พระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ได้ทำสงครามกันต่อมา

    ครั้งหนึ่ง มังรายกะยอฉะวา(พระราชโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง) ยกทัพมาตีเมืองหงสาวดี ครั้งนั้นสมิงพระราม ทหารมอญผู้มีฝีมือในการรบเป็นเยี่ยม มีความองอาจเข้มแข็ง บังคับช้าง,ม้า ได้ชำนาญ ได้ชี่ช้างพลายประกายมาศ ออกทำสงคราม ช้างพลายประกายมาศตกหล่ม มังรายกะยอฉะวาจึงจับสมิงพระรามได้ และนำไปจองจำไว้ในกรุงอังวะในฐานะเชลย

    ต่อไปเป็นเรื่อง ราชาธิราช..ตอน สมิงพระรามอาสา..
    ฝ่ายพระเจ้ากรุงต้าฉิง ซึ่งเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงจีนนั้น มีทหารเอกคนหนึ่งชื่อ กามะนี มีฝีมือขี่ม้าแทงทวนสันทัดดี หาผู้เสมอมิได้ จีนทั้งปวงก็สรรเสริญว่า กามะนีนี้ มิใช่มนุษย์ดุจเทพยดาก็ว่าได้ อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากรุงจีนเสด็จออก ตรัสปรึกษาด้วยเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงว่า "ทำไฉน เราจะได้เห็นทหารขี่ม้า สู้กันกับกามะนีตัวต่อตัวดูเล่นให้เป็นขวัญตาสักครั้งหนึ่ง กษัตริย์องค์ใด ยังจะมีทแกล้วทหาร(ทะ-แกล้ว แปลว่า ทหารผู้มีฝีมือมาก)ที่สามารถจะสู้กามะนีได้ แต่พอชมเล่นเป็นที่เจริญตาได้บ้าง" เสนาบดีจึงกราบทูลว่า"กษัตริย์ที่จะมีทแกล้วทหารขี่ม้าสันทัดนั้นมีอยู่แต่กรุงรัตนบุระอังวะ กับ กรุงหงสาวดี กษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์นี้ย่อมทำสงครามแก่กันอยู่มิได้ขาด"

    พระเจ้ากรุงจีนได้ทรงฟังก็มีพระทัยยินดีนัก จึงสั่งให้จัดพลพยุหเสนาทั้งปวงเป็นอันมากจะนับประมาณมิได้ ครั้นที่ศุภฤกษ์แล้ว (ถึงเวลายามดี) พระองค์ก็เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง ยกทัพบกมายังกรุงอังวะ พระเจ้ากรุงจีนยกมาครั้งนั้น อุปมา(เปรียบเสมือน)ดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้ำหนองท่วมป่าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันตฤดูนั้น(ฤดูฝน ก่อนฤดูร้อน หรือฤดูใบไม้ผลิ นั่นเอง) หาสิ่งใดจะต้านทานมิได้ ครั้นเสด็จดำเนินกองทัพมาถึงกรุงอังวะ ทอดพระเนตรเห็นกำแพงเมืองถนัดก็ให้ตั้งทัพมั่นลง

    ตอบลบ
  5. ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้แจ้งว่า ทัพจีนยกมามากเหลือกำลัง ก็มิให้ออกรบสู้ต้านทาน ให้แต่รักษาพระนครมั่นไว้เป็นสามารถ ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนจึงให้มีพระราชกำหนดประกาศแก่ทหารทั้งปวงว่า "ถ้าผู้ใดไม่มีอาวุธรบสู้ อย่าได้ทำอันตรายเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดมิฟังจะให้ตัดศีรษะเสียบเสีย" ครั้นพระเจ้ากรุงจีนให้ตั้งค่ายมั่นลงแล้ว ก็ให้แต่งพระราชสาส์นฉบับหนึ่ง แล้วให้จัดแพรลายมังกรร้อยม้วน แพรลายทองร้อยม้วน กับเครื่องยศประดับหยกอย่างกษัตริย์ปสำรับหนึ่ง ให้ขุนนางในตำแหน่งฝ่ายพลเรือนชื่อโจเปียว พูดภาษาพม่าได้ กับไพร่พอสมควร เชิญพระราชสาส์น กับเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง โจเปียว ก็ถวายบังคมลา ถือพระราชสาส์นคุมเครื่องราชบรรณาการมากับด้วยพร่ จึงเรียกทหารผู้รักษาหน้าที่ให้เปิดประตูเมืองรับ นายทัพนายกองได้แจ้งด้งนั้น ก็เข้ากราบบังคมทูลพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จึงโปรดให้รับผู้ถือพระราชสาส์นเข้ามา โจเปียวก็เข้ามากราบถวายบังคมหน้าพระที่นั่ง ถวายพระราชสาส์นกับเคื่องราชบรรณาการพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงรับสั่งให้ล่ามเจ้าพนักงานเข้ามาแปลพระราชสาส์น ล่ามแปลแล้วจึงสั่งให้อาลักษณ์อ่าน ในพระราชสาส์นนั้นว่า ---------- เรายกพยุหเสนามาครั้งนี้ ด้วยมีความปรารถนา 2 ประการ
    จะใคร่ดูทหารขี่ม้ารำทวนสู้กันตัวต่อตัวชมเล่นเป็นขวัญตา(ทวน มีลักษณธคล้ายหอก แต่แหลมและเบากว่า) แม้ทหารกรุงอังวะแพ้ ก็ให้ยอมถวายเมืองแก่เราโดยดี อย่าให้สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนเลย ถ้าทหารฝ่ายเราแพ้ ก็จะเลิกทัพกลับไปยังพระนคร และราษฎรในกรุงอังวะนั้น โดยต่ำลงไปแต่กระท่อมน้อยหลังหนึ่งก็มิให้เป็นอันตราย พระเจ้าอังวะจะคิดประการใด ก็เร่งบอกออกมา----------

    พระเจ้าฝั่งมังฆ้องได้แจ้งในพระราชสาส์นนั้นแล้ว ก็ดีพระทัยนัก ด้วยทรงพระดำริว่า "การสงครามครั้งนี้เป็นธรรมยุทธ์ใหญ่ยิ่ง(ธรรมยุทธ์ แปลว่า สงครามโดยธรรม หรือยุติธรรม) สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรจะมิได้ความเดือดร้อน สมควรแก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ตั้งอยู่ในยุติธรรม" ทรงพระดำริแล้วจึงให้พระราชทานเงินทองเสื้อผ้าแก่ผู้ถือหนังสือเป็นอันมาก แล้วให้แต่งพระราชสาส์นตอบฉบับหนึ่ง ให้จัดเครื่องราชบรรณาการ ผ้าสักหลาด20พับ นอระมาด50ยอด น้ำดอกไม้เทศ30เต้า ช้างพลายผูกเครื่องทองช้างหนึ่ง(1 เชือก) มอบให้โจเปียวผู้จำทูลพระราชสาส์นนำกลับไปถวายพระเจ้ากรุงจีนจึงรับสั่งให้ล่ามพม่าเข้ามาแปล ให้เจ้าพนักงานอ่านถวาย ในพระราชสาส์นนั้นตอบว่า ----------ซึ่งพระเจ้ากรุงจีนมีพระทัยปรารถนา จะใคร่ชมฝีมือทหารฝ่ายพม่าขี่ม้ารำทวนสู้กัน เป็นสงครามธรรมยุทธ์นั้น เราเห็นชอบด้วย มีความยินดียิ่งนัก เพราะสมควรแก่พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้ใหญ่อันประเสริฐ แต่การสงครามครั้งนี้ เป็นมหายุทธนาการใหญ่หลวง จะด่วนกระทำโดยเร็วนั้นมิได้ ของด(ขอ-งด)ไว้ภายใน 7 วัน อนึ่งพระองค์ก็เสด็จมาจากประเทศไกล ไพร่พลทั้งปวงยังเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ ขอเชิญพระองค์พักพลทหารระงับพระกายให้สำราญพระทัยก่อนเถิด แล้วเราจึงจะให้มีกำหนดนัดหมายออกไปแจ้ง ตามมีพระราชสาส์นมานั้น---------- พระเจ้ากรุงจีนได้แจ้งในพระราชสาส์ตอบกลับแล้วก็ดีพระทัย จึงสั่งให้นายทัพนายกองทั้งปวงสงบไว้

    ฝ่ายพระเจ้ามณเฑียรทอง ครั้นส่งพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปแล้ว จึงตรัสปรึกษาเสนาพฤฒามาตย์(ขุนนาง)ราชปโรหิต ข้าราชการผู้น้อย/ใหญ่ ทแกล้วทหารทั้งปวงว่า "ผู้ใดจะรับอาสาขี่ม้าแทงทวนสู้กามะนีทหารพระเจ้ากรุงจีนตัวต่อตัวได้บ้าง" เสนาพฤฒามาตย์ผู้น้อย/ใหญ่ ทแกล้วทหารทั้งปวงก็มิอาจรับอาสาได้ พระเจ้ามณเฑียรทองก็ทรงพระวิตกเป็นทุกข์พระทัยนัก จึงให้พระโหรมาคำนวณพระชันษาและชะตาเมืองดู โหรก็คำนวณพฎีกาดู ทูลถวายว่า "พระชันษาและชะตาเมืองยังดีอยู่ หาเสียไม่ นานไปจะได้ลาภอันประเสริฐอีก" พระเจ้ามณเฑียรทองได้ทรงฟังก็ดีพระทัย จึงให้ตีฆ้องร้องป่าวทั่วทั้งพระนครว่า "ผู้ใดรับอาสาสู้กับกามะนีทหารพระเจ้ากรุงจีนได้ พระเจ้าแผ่นดินจะโปรดให้เป็นพระอุปราช เสนาบดีรับสั่งแล้วก็ให้ป่าวร้องไปทั่วพระนคร ไม่มีผู้ใดที่อาจออกรบอาสาได้

    ตอบลบ
  6. 2.การพ์ เห่ชงเครื่องคาวหวาน

    ตอบลบ
  7. ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    บทเรียนสมัยครั้งเรียนระดับมัธยม ซึ่งเป็นกาพย์เห่เรือที่นิยมกันมาก คัดมาจากหนังสือ : ประชุมกาพย์เห่เรือ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร


    ลักษณะคำประพันธ์
    แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วจึงแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ และแต่งกาพย์ยานีพรรณนาเพิ่มเติม ซึ่งเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง วิธีแต่งกาพย์ห่อโคลง มีอยู่ 3 แบบ คือ1. แต่งกาพย์ยานีก่อนแล้วแต่งโคลงสี่สุภาพเลียนแบบ 2. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบต่อมา และ 3. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบและแต่งกาพย์ยานีพรรณนา เพิ่มเติม

    ตอบลบ
  8. 3.นิทานพื้นบ้าน

    ตามภูมิภาคของประเทศไทย
    เช่น

    1.อีสาน
    2.ภาคกลาง
    3.เหนือ
    4.ตะวันออก

    เเละอื่น ๆ

    ตอบลบ
  9. 4.กลุ่มคำ
    กลุ่มคำตามหลักภาษาไทยมี 7 ชนิดได้แก่
    1. กลุ่มคำนาม (นามวลี)
    2. กลุ่มคำสรรพนาม (สรรพนามวลี)
    3. กลุ่มคำกริยา (กริยาวลี)
    4. กลุ่มคำวิเศษณ์ (วิเศษณ์วลี)
    5. กลุ่มคำบุพบท (บุพบทวลี)
    6. กลุ่มคำสันธาน (สันธานวลี)
    7. กลุ่มคำอุทาน (อุทาน)

    ตอบลบ
  10. 5. ประโยคความเดียว ความรวม ความซ้อน
    ชนิดของประโยค
    ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้

    1. ประโยคความเดียว
    ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น


    2. ประโยคความรวม
    ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

    ตอบลบ